Th PO

From OLPC
Revision as of 09:51, 27 February 2007 by Sakchai (talk | contribs) (Adding Thai Progress Translation)
Jump to: navigation, search
  This PO file is used for the translation of the OLPC website based on the template (POT) file.  Feel free to make corrections; please use the talk page for your comments.
# Internationalization for the OLPC website 
# Source language: "en-US"
# Target language: "th"
# Version: 1.0 
"Project-Id-Version: OLPC website files\n"
"POT-Creation-Date: 2006-02-14 12:00-0500\n"
"PO-Revision-Date: 2006-03-03 11:08-0500\n"
"Last-Translator: Arnan (Roger) Sipitakiat <arnans@media.mit.edu>\n"
"Language-Team: Arnan Sipitakiat <arnans@media.mit.edu>\n"
"MIME-Version: 1.0\n"
"Content-Type: text/plain; charset=utf-8\n"
"Content-Transfer-Encoding: 8bit\n"
"X-Poedit-Language: thai\n"
"X-Poedit-Country: thailand\n"
"X-Poedit-SourceCharset: utf-8\n"

msgid "align"
msgstr "left"


#: laptop.html
msgid "title"
msgstr "หนึ่งเยาวชนหนึ่งแล็ปท็อป"

msgid "intro"
msgstr "ขอแนะนำ ทูบีวัน (2B1) แล็ปท็อปสำหรับเยาวชน จากโครงการหนึ่งเยาวชนหนึ่งแล็ปท็อป(OLPC) คอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างเสริมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนในประเทศกำลังพัฒนา และเยาวชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทูบีวันได้ถูกออกแบบจากการระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้งจากสถาบันการศึกษาและจากกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่สะสมมายาวนานหลายสิบปีมาช่วยพัฒนาในโครงการนี้เพื่อมวลมนุษยชาติ โดยไม่หวังผลกำไร ผลลัพท์จึงได้มาซึ่งความลงตัวของทั้งรูปลักษณ์และความสามารถในการทำงาน ได้แก่ มีความยืดหยุ่นสูง, มีราคาที่ต่ำมาก, มีการจัดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, มีการตอบสนองการทำงานสูง, และทนทานต่อการใช้งาน ด้วยเครื่องมือที่มีศักยภาพนี้จะทำให้เยาวชนในประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถก้าวกระโดดไปได้หลายสิบปี โดยจะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาและคุณภาพของการเรียนของเยาวชนในประเทศนั้นๆ อย่างฉับพลัน"

msgid "content"
msgstr "โครงการหนึ่งเยาวชนหนึ่งแล็ปท็อป (One Laptop per Child) เป็นสมาคมที่ไม่แสวงผลกำไรที่ตั้งขึ้นใหม่ มุ่งวิจัยพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในราคา 100 เหรียญสหรัฐ ที่สามารถปฏิวัติการเรียนการสอนของโลกแก่เยาวชน"

msgid "language"
msgstr "ไทย"

msgid "navhome"
msgstr "หน้าแรก"

msgid "navwiki"
msgstr "WIKI"

msgid "navcommunity"
msgstr "ข่าวสารประชาคม"

msgid "navfaq"
msgstr "คำถามที่พบบ่อย"

msgid "navcommunity2"
msgstr "ข่าวสารประชาคม"

msgid "navfaq2"
msgstr "คำถามที่พบบ่อย"

msgid "navpeople"
msgstr "บุคลากร"

msgid "navpress"
msgstr "สำหรับผู้สื่อข่าว"

msgid "navdownload"
msgstr "ดาวน์โหลด"

msgid "navmap"
msgstr "แผนผัง"

msgid "navcontact"
msgstr "ติดต่อเรา"

msgid "presscontact"
msgstr "สำหรับผู้สื่อข่าว ติดต่อเรา"

msgid "mailinglists"
msgstr "OLPC MAILING LISTS"

msgid "homebody1"
msgstr "โครงการหนึ่งเยาวชนหนึ่งแล็ปท็อป (One Laptop per Child) เป็นสมาคมที่ไม่แสวงผลกำไรที่ตั้งขึ้นใหม่ ที่มุ่งวิจัยพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในราคา 100 เหรียญสหรัฐ ที่สามารถปฏิวัติการเรียนการสอนของโลกแก่เยาวชน Nicholas Negroponte ผู้เป็นประธานกรรมการของโครงการ OLPC ได้เปิดเผยโครงการนี้เป็นครั้งแรกระหว่างงาน World Economic Forum ณ เมือง ดาโวส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในเดือน มกราคม ปี 2005"

msgid "homebody2"
msgstr "เป้าหมาย: เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้กับเยาวชนทั่วโลกได้บุกเบิก ทดลอง และแสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง"

msgid "homebody3"
msgstr "โปรดสังเกตว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี้ ยังไม่ได้ผลิตออกมาและจะไม่ทำออกมาขาย เครื่องเหล่านี้จะถูกนำไปแจกจ่ายให้กับโรงเรียนโดยตรงผ่านโครงการขนาดใหญ่ที่ร่วมมือกับภาครัฐเท่านั้น"

msgid "peoplebody1"
msgstr "หลักการ"

msgid "peoplebody2"
msgstr "ที่ปรึกษา"

msgid "peoplebody3"
msgstr "กรุณาดูประวัติส่วนบุคคลโดยคลิกที่เมนู บุคลากร"

msgid "wikibody1"
msgstr "เราได้จัดทำ <b>วิกิ (WIKI)</b> ขึ้นมาสำหรับโครงการนี้เพื่อชักชวนให้ผู้ที่สนใจสนทนากันเกี่ยวกับ (1) ฮาร์ดแวร์ของตัวเครื่อง (2) โปรแกรมที่จะรันบนเครื่อง (3) เนื้อหาทางการศึกษา (4) แผนการเปิดตัวโครงการ (5) วิธีเข้ามามีส่วนร่วม และ (6) เพิ่มคำถามใหม่เข้าไปใน FAQ หรือคำถามที่ถามบ่อย"

msgid "wikibody2"
msgstr "เข้าเยี่ยมชมวิกิ (WIKI) โดยคลิกที่เมนู WIKI"

msgid "communitybody1"
msgstr "เรามีข้อมูลใหม่ๆ ประจำสัปดาห์ให้กับผู้สนใจในโครงการ OLPC ซึ่งสามารถชมได้โดยคลิกที่เมนู ข่าวสารประชาคม"

msgid "faqbody1"
msgstr "ขอถามจริงๆ ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี่มันคืออะไร:<br/> เครื่องราคา 100 เหรียญที่นำเสนอนี้ใช้ลินุกซ์เป็นหลัก และหน้าจอแสดงผลจะมีสองโหมด โดยโหมดแรกเป็นโหมดสี แสดงผลในระดับภาพยนต์ DVD ได้ และโหมดที่สองเป็นขาวดำสามารถใช้งานได้กลางแสงแดดและมีความละเอียดสูงขึ้นสามเท่า เครื่องนี้จะใช้หน่วยประมวลผลความเร็ว 500 MHz และหน่วยความจำ DRAM ขนาด 128 MB พร้อมกับหน่วยความจำแฟล็ชขนาด 500 MB เครื่องนี้จะไม่มีฮาร์ดดิสก์ แต่จะมี USB พอร์ทสี่พอร์ท เครื่องนี้จะมีอุปกรณ์ต่อเครือข่ายไร้สายเหมือนเครื่องทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันจะสามารถใช้งานในรูปแบบ mesh network ได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องนี้ติดต่อกับเครื่องที่อยู่ใกล้เคียงและสร้างเครื่องข่ายแบบ ad hoc ขึ้นมาได้ เครื่องนี้จะมีระบบจัดการพลังงานที่ล้ำสมัย (สามารถสร้างกระแสไฟโดยใช้มือหมุนด้วย) และสามารถใช้งานทั่วไปได้เกือบทุกอย่างยกเว้นการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่"

msgid "faqbody2"
msgstr "ชมคำถามที่ถามบ่อยได้โดยการคลิกที่เมนู คำถามที่ถามบ่อย"

msgid "pressbody1"
msgstr "ชมรายงานข่าวเกี่ยวกับโครงการได้โดยคลิกที่เมนู รายงานข่าว"

msgid "downloadbody1"
msgstr "โหลดรูปได้โดยคลิกที่เมนู ดาว์นโหลด (ในภายหลังเราจะนำโปรแกรม และสิ่งอื่นๆ มาให้ดาว์นโหลดด้วย)"

msgid "mapbody1"
msgstr "แผนที่โลกของเรามีการใช้รหัสสีดังนี้: (สีเขียว) คือประเทศที่เรามีแผนนำร่องอยู่แล้ว (สีส้ม) คือประเทศที่ระดับกระทรวงศึกษาธิการหรือสูงกว่าแสดงความสนใจ (สีเหลือง) คือประเทศที่กำลังแสวงหาการสนับสนุนจากรัฐ"

#: faq.html
msgid "heading1"
msgstr "คำถามที่ถามบ่อย"

msgid "heading2"
msgstr "Nicholas Negroponte ประธานโครงการหนึ่งเยาวชนหนึ่งแล๊ปท๊อปตอบคำถามเกี่ยวกับโครงการฯ "

msgid "question1"
msgstr "ถามจริงๆ ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี่มันคืออะไรกันแน่?"

msgid "answer1"
msgstr "เครื่องราคา 100 เหรียญที่นำเสนอนี้ใช้ลินุกซ์เป็นหลัก และหน้าจอแสดงผลจะมีสองโหมด โดยโหมดแรกคือโหมดสี แสดงผลในระดับภาพยนต์ DVD ได้ และโหมดที่สองเป็นขาวดำสามารถใช้งานได้กลางแสงแดดและมีความละเอียดสูงขึ้นสามเท่า เครื่องนี้จะใช้หน่วยประมวลผลความเร็ว 500 MHz และหน่วยความจำ DRAM ขนาด 128 MB พร้อมกับหน่วยความจำแฟล็ชขนาด 500 MB เครื่องนี้จะไม่มีฮาร์ดดิสก์ แต่จะมี USB พอร์ทสี่พอร์ท เครื่องนี้จะมีอุปกรณ์ต่อเครือข่ายไร้สายเหมือนเครื่องทั่วไป แต่ในขณะเดียวกันจะสามารถใช้งานในรูปแบบ mesh network ได้ ซึ่งจะทำให้เครื่องนี้ติดต่อกับเครื่องที่อยู่ใกล้เคียงและสร้างเครื่องข่ายแบบ ad hoc ขึ้นมาได้ เครื่องนี้จะมีระบบจัดการพลังงานที่ล้ำสมัย (สามารถสร้างกระแสไฟโดยใช้มือหมุนด้วย) และสามารถใช้งานทั่วไปได้เกือบทุกอย่างยกเว้นการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่"

msgid "question2"
msgstr "ทำไมเยาวชนในประเทศกำลังพัฒนาถึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา?"

msgid "answer2"
msgstr "เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเป็นทั้งหน้าต่างเปิดโลกแห่งปัญญาและเครื่องมือในการคิด มันเป็นวิธีอันวิเศษเพื่อให้เด็ก <i>เรียนรู้วิธีเรียน (learn learning) </i> ผ่านทางการปฏิสัมพันธ์และบุกเบิกอย่างอิสระ"

msgid "question3"
msgstr "ทำไมถึงไม่ใช้เครื่องแบบตั้งโต๊ะ หรือไม่ก็เอาเครื่องเก่ามาใช้ใหม่จะไม่ดีกว่าหรือ?"

msgid "answer3"
msgstr "แม้เครื่องตั้งโต๊ะจะราคาถูกกว่าแต่เราให้ความสำคัญกับการพกพาเครื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะการนำเครื่องเหล่านี้กลับบ้านข้ามคืน เด็กในโลกส่วนที่กำลังพัฒนาต้องการเทคโนโลยีล่าสุด โดยเฉพาะเครื่องที่ทนทานและมีโปรแกรมที่สร้างสรรค์ โครงการหนึ่งที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ในรัฐ Maine ของสหรัฐได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์อย่างใหญ่หลวงการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งรวมทั้งการใช้มันเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นด้วย การนำเครื่องฯ กลับบ้านนำครอบครัวของเด็กให้มีส่วนร่วม หมู่บ้านหนึ่งในประเทศกัมพูชาที่เราเข้าไปทำงานไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ดังนั้นหนึ่งในคุณประโยชน์ของเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการที่มันเป็นแหล่งแสงไฟที่สว่างที่สุดในบ้าน <br/> ประการสุดท้ายเกี่ยวกับการนำเครื่องเก่ามาใช้ใหม่ ถ้าเราประมาณการว่าจะใช้เครื่องเหล่านี้จำนวน 100 ล้านเครื่อง และแต่ละเครื่องใช้เวลาซ่อมแซม ติดตั้ง และ จัดการดูแล เพียงหนึ่งชั่วโมง นั่นจะรวมเป็นปริมาณงานกว่าสี่หมื่นห้าพันปี ดังนั้น ถึงแม้ว่าเราจะส่งเสริมการนำเครื่องเก่ามาใช้งานใหม่ มันไม่ใช่แนวทางของโครงการนี้"

msgid "question4"
msgstr "เป็นไปได้อย่างไรที่ราคาจะถูกเช่นนี้?"

msgid "answer4"
msgstr "ประการแรกคือโดยการลดต้นทุนการผลิตจอแสดงผล เครื่องรุ่นแรกจะใช้จอแสดงผลแบบใหม่ มีสองโหมด ซึ่งเป็นการพัฒนาขึ้นมาจากจอ LCD ที่มักพบในเครื่องเล่น DVD ราคาแพง จอที่จะใช้นี้สามารถแสดงผลความละเอียดสูงในแบบขาวดำ และใช้งานกลางแดดได้ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 35 เหรียญ <br/> ประการที่สองคือโดยการกำจัดส่วนเกินออกจากระบบ เครื่องคอมพิวเตอร์เตอร์พกพาในปัจจุนบันมีส่วนเกินอยู่มากมาย สองในสามของโปรแกรมที่มีอยู่ถูกใช้เพื่อจัดการกับหนึ่งในสามส่วนที่เหลือ ซึ่งส่วนที่เหลือนี้ก็มักประกอบไปด้วยหลายส่วนที่ทำหน้าที่เดียวกันซ้ำซ้อนไปมา <br/> ประการที่สามคือโดยการทำตลาดเครื่องเหล่านี้ในปริมาณสูง (เป็นล้านเครื่อง) ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสามารถแจกจ่ายเครื่องเหล่านี้ได้ในลักษณะเดียวกับการแจกจ่ายหนังสือ"

msgid "question5"
msgstr "ทำไมจึงให้ความสำคัญกับการให้คอมพิวเตอร์กับเด็กทุกคน? แนวคิดเกี่ยวกับศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ชุมชนมีอะไรไม่ดีหรือ"

msgid "answer5"
msgstr "เราเปรียบคอมพิวเตอร์เหมือนดินสอ คงไม่มีใครคิดจัดตั้งศูนย์บริการดินสอชุมชน เด็กทุกคนมีดินสอของตัวเอง ดินสอเป็นเครื่องมือที่เด็กใช้คิด มีราคาถูกพอที่จะใช้สำหรับเรียนหรือเล่น วาดภาพ เขียนเอกสาร และคำนวณคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ก็เป็นดั่งดินสอได้ เพียงแต่มันมีอานุภาพสูงกว่า ยิ่งไปกว่านั้น การให้เด็กเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ เช่น ลูกฟุตบอล ตุกตา หรือหนังสือ มีข้อดีหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ สิ่งที่เขาเป็นเจ้าของจะได้รับการดูแลทะนุถนอม รัก และเอาใจใส่อย่างดี"

msgid "question6"
msgstr "แล้วเรื่องการเชื่อมต่อเครือข่ายละ? บริการโทรคมนาคมในโลกส่วนที่กำลังพัฒนามีราคาแพงไม่ใช่หรือ?"

msgid "answer6"
msgstr "เมื่อเครื่องเหล่านี้ถูกนำออกมาใช้งาน มันจะสร้างเครือข่ายด้วยกันเองโดยการเชื่อมต่อแบบเครื่องถึงเครื่อง นี่เป็นสิ่งที่ถูกริเริ่มพัฒนาขึ้นที่ MIT และ Media Lab นอกจากนั้นเราก็กำลังเสาะหาวิธีที่จะเชื่อมต่อเครื่องเหล่านั้นเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในราคาถูกอีกด้วย"

msgid "question7"
msgstr "มีอะไรบ้างที่เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี้ทำไม่ได้เมื่อเทียบกับเครื่องระดับราคา 1000 เหรียญ"

msgid "answer7"
msgstr "มีไม่มากที่เครื่องฯ ทำไม่ได้ แผนการของเราคือเครื่องฯ นี้จะทำได้เกือบทุกอย่างยกเว้นการบรรจุข้อมูลขนาดมหาศาล"

msgid "question8"
msgstr "จะทำตลาดเครื่องเหล่านี้อย่างไร?"

msgid "answer8"
msgstr "เครื่องเหล่านี้จะขายให้กับภาครัฐและแจกจ่ายให้กับนักเรียนตามโรงเรียนโดยยึดหลัก<i>หนึ่งเยาวชนต่อหนึ่งเครื่อง</i>  ในเบื้องต้นประเทศที่สนใจเจรจาได้แก่ จีน อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา อียิปต์ ไนจีเรีย และ ประเทศไทย นอกจากนั้น เครื่องส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่อวางรากฐาน สร้างกลุ่มผู้พัฒนาขึ้นในประเทศอื่นๆ  นอกจากนั้นจะมีเครื่องรุ่นที่จะใช้เพื่อการพาณิชย์ด้วย ซึ่งจะถูกพิจารณาคู่ขนานกันไป"

msgid "question9"
msgstr "คิดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้จะถูกป้อนสู่ตลาดเมื่อใด? อะไรเป็นอุปสรรค์ที่สำคัญบ้าง?"

msgid "answer9"
msgstr "กำหนดการเบื้องต้นของเราคือจะพร้อมจัดส่งเครื่องได้ภายในปลายปี 2006 หรือต้นปี 2007 เราจะเริ่มผลิตเครื่องเมื่อมียอดสั่งจองและจ่ายเงินล่วงหน้าไว้ประมาณ 5 ถึง 10 ล้านเครื่อง อุปสรรค์สำคัญอยู่ที่การผลิต อะไรก็ตามที่จะผลิตเป็นจำนวนถึง 100 ล้านชิ้นสามารถหลอกหลอนคุณได้ นี่ไม่ใช่เพียงปัญหาเกี่ยวกับ Supply-Chain แต่เกี่ยวกับการออกแบบด้วย แต่เราก็ทึ่งกับสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตบางแห่งนำเสนอแก่เรา เรารู้สึกเหมือนดั่งว่าไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของปัญหาที่มีถูกขจัดไปโดยเพียงการเจาะจงสิ่งที่เราต้องการให้กับทางผู้ผลิต"

msgid "question10"
msgstr "ใครเป็นบริษัทพัฒนาต้นแบบสินค้า (ODM) ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี้"

msgid "answer10"
msgstr "บริษัทควอนต้าคอมพิวเตอร์ (Quanta Computer Inc.) ในไต้หวันถูกคัดเลือกให้เป็นบริษัทพัฒนาต้นแบบสินค้า (ODM) ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญ บริษัทนี้ถูกรับเลือกหลังจากที่คณะกรรมการได้พิจารณาข้อเสนอของหลายบริษัทที่ส่งเข้ามา <br/> บริษัทควอนต้าคอมพิวเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1988 ในประเทศไต้หวัน ด้วยยอดจำหน่ายถึง 1 หมื่นล้านเหรียญ บริษัทควอนต้าคือผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์พกพารายใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ, โทรทัศน์ LCD , เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูล นอกจากนั้นเมื่อไม่นานมานี้บริษัทฯ ได้เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) มูลค่ากว่า 200 ล้านเหรียญในไต้หวัน ศูนย์นี้เปิดทำการในไตรมาสที่สามของปี 2005 และมีพื้นที่กว่า 2.2 ล้านตารางฟุต (ประมาณ 2 แสนตารางเมตร) สามารถรองรับวิศวกรได้ถึง 7 พันคน"

msgid "question11"
msgstr "โครงการนี้มีโครงสร้างอย่างไร"

msgid "answer11"
msgstr "เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาราคา 100 เหรียญนี้จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงหากำไรชื่อ หนึ่งเยาวชนหนึ่งแล๊ปท๊อป (One Laptop per Child หรือ OLPC) ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐเดลอะแวร์ (Delaware) ของสหรัฐอเมริกา องค์กรนี้ถูกจัดตั้งโดยบุคลากรจากห้องวิจัย Media Lab ของมหาวิทยาลัย MIT เพื่อออกแบบ ผลิต และแจกจ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาในราคาถูกพอที่จะให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงความรู้และรูปแบบการศึกษาสมัยใหม่ โครงการนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ชื่อ <i>Constructionism</i> ที่ถูกริเริ่มโดย Seymour Paper และ Alan Kay รวมทั้งหลักการในหนังสือ Being Digital ที่ Nicholas Negroponte ได้เขียนไว้ บริษทผู้ร่วมงานและก่อตั้งโครงการนี้ได้แก่ บริษัท Advanced Micro Devices (AMD), Brightstar, Google, News Corporation, Nortel, และ Red Hat <br/> Nicholas Negroponte คือประธานโครงการ  Mary Lou Jepsen คือหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยี บุคลากรอื่นที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้แก่ Walter Bender, Michail Bletsas, V. Michael Bove, Jr., David Cavallo, Benjamin Mako Hill, Joseph Jacobson, Alan Kay, Tod Machover, Seymour Papert, Mitchel Resnick, และ Ted Selker บริษัท Design Continuum กำลังร่วมมือกับเราในการออกแบบตัวเครื่องฯ"

msgid "date"
msgstr "กุมภาพันธ์ 2006"


#: people.html

#: press.html

msgid "milestones"
msgstr "MILESTONES"

#: download.html

msgid "license"
msgstr "These works are licensed under a Creative Commons License"

msgid "deed"
msgstr ""

msgid "dccredit"
msgstr "รูปภาพและภาพประกอบโดย:"

msgid "imagelabel1"
msgstr "CONCEPT IMAGES"

msgid "clicklarger"
msgstr "คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่"

msgid "po"
msgstr "ดาวน์โหลดแฟ้ม PO นี้ <a href="http://wiki.laptop.org/go/Th_PO">คลิกที่นี่</a>."

#: map.html

msgid "mapkey1"
msgstr "(สีเขียว) คือประเทศที่เรามีแผนนำร่องอยู่แล้ว"

msgid "mapkey2"
msgstr "(สีส้ม) คือประเทศที่ระดับกระทรวงศึกษาธิการหรือสูงกว่าแสดงความสนใจ"

msgid "mapkey3"
msgstr "(สีเหลือง) คือประเทศที่กำลังแสวงหาการสนับสนุนจากรัฐ"


#: members.html

msgid "membersbody1"
msgstr "หนึ่งเยาวชนหนึ่งแล็ปท็อป (OLPC) เป็นสมาคมไม่แสวงผลกำไรที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางการศึกษาทั่วโลกผ่านทางการออกแบบ, ผลิต, เผยแพร่ และศึกษาอย่างลึกซื้งเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่เหมาะสม สำหรับการเรียนรู้ของเยาวชน, โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา<br/><br/>สมาชิกของเราประกอบด้วย:"

พันธกิจ mission เด็ก ๆ ในประเทศกำลังพัฒนาเกือบสองพันล้านคนได้รับการศึกษาไม่เพียงพอ หรือ บางคนไม่ได้รับเลย หนึ่งในสามของเด็กเหล่านี้ไม่จบชั้นประถมปีที่ 5 ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤติและเรื้อรังของครอบครัวและสังคมด้อยโอกาสทั่วโลก เด็ก ๆ จากชุมชนที่ยากจนเช่นพ่อ-แม่ของเขานึกภาพไม่ออกว่าแสงสว่างของการศึกษาจะมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเขา ขณะเดียวกันรัฐบาลของพวกเขากำลังฝ่าฟัน โลกเศรษฐกิจสารสนเทศ (Global information economy) ที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด มีการเพิ่มขึ้นของชนชั้นด้อยโอกาสที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และยังขาดโอกาสในการพัฒนาตัวเองเพราะไม่มีเครื่องมือการศึกษาที่จะช่วยเหลือพวกเขายกระดับความเป็นอยู่ของชีวิต

มันถึงเวลาที่จะคิดแก้ไขปัญหานี้ It is time to rethink this equation. ยื่นทรัพยากรให้เด็กในประเทศยากจนที่มีงบประมาณการศึกษาต่อปีต่อคน น้อยกว่า 20.- เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ 7,500.- เหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกาเอง หรือมากกว่า สองเท่า สี่เท่า ของงบประมาณที่ตั้งไว้ จากรูปแบบการศึกษาแบบเดิม จากองค์กรเอกชน แต่ผลที่ได้ก็ไม่คุ้มกับค่าของเงินที่จ่ายไปสักเท่าไร จากการวิเคราะห์ข้อมูลของการลงทุนด้านการศึกษาพบว่า รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการ ก่อสร้างขยายโรงเรียน จ้างครูเพิ่ม ซื้อหนังสือ หรืออุปกรณ์การศึกษาอื่น ๆ ขณะเดียวกันเสียงเรียกร้องให้ช่วยพัฒนาระบบการศึกษาของเด็กในประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร

ผลที่ควรจะเป็นกลับกลายเป็นการก้าวถอยหลังจากการอยู่นิ่งเฉย It is instead a reliable recipe for going backward by standing still.ไม่ว่าชาติใดก็ตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าสูงสุด และน่าทำนุถนอมมากที่สุดคือ “ เด็ก ๆ “ โลกที่ต้องการพัฒนาให้เห็นอนาคตอันรุ่งเรืองต้องเน้นการพัฒนาเด็กเป็นอันดับแรก พยายามนำสิ่งที่อยู่ภายในตัวของเด็กให้เขาเรียนรู้ด้วยตัวเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนฝูงและสังคมของเขา คำตอบของทีมงานเราก็คือต้องใช้ “คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป” เราเรียกว่ารุ่น “เอ็กซ์โอ” มันเป็นเครื่องมือของเด็กที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ เอ็กซ์โอ เกิดเป็นรูปเป็นร่างจากทฤษฎี “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) ที่พัฒนาโดย ซีมัวร์ พาเพิร์ท (Seymour Papert )ในปี พ.ศ. 2503 และต่อมาพัฒนาในรายละเอียดโดย อลันด์ เคย์ (Alan Kay) เพิ่มเติม แตกหน่อ โดย นิโคลัส เนโกรพอนเต้ (Nicholas Negroponte) จากเนื้อหาในหนังสือ “มาเป็นดิจิตอลกันเถิด” (Being Digital) เมื่อนำมาวิจัยภาคสนามในพื้นที่ทุรกันดาร และยากจนที่สุดของโลกได้พิสูจน์ความถูกต้องของทฤษฎี เครื่องมือ และระบบ ของ “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) พาเพิร์ท ได้เน้น “การเรียนรู้จากการเรียน / เรียนแล้วเรียนอีก” (Learning learning) คือพื้นฐานของประสบการณ์การศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์นับเป็นแม่แบบของ“การเรียนรู้จากการเรียน / เรียนแล้วเรียนอีก” (Learning learning) ที่ไม่เหมือนใคร มันช่วยให้เด็ก คิด และได้คิดสิ่งที่เขากำลังคิด ซึ่งเครื่องมืออื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ การใช้ “เอ็กซ์โอ” เป็นหน้าต่าง-ประตูสู่โลกภายนอก และเป็นอุปกรณ์สำรวจและเผชิญโลกกว้างที่ได้รับการโปรแกรมไว้พร้อมมูล คอมพิวเตอร์และระบบที่วางไว้จะช่วยให้เด็กในชาติกำลังพัฒนาเปิดสู่โลกแห่งการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ ได้ใช้ความสร้างสรรค์ของเขา และศักยภาพในการแก้ปัญหา ควบคู่กันไป “โอ แอล พีซี” ไม่ใช่หัวใจของโปรแกรมเทคโนโลยี และ “เอ็กซ์โอ” ก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ในความหมายของโลกทุนนิยมที่ทำเพื่อการค้ากำไรเป็นหลัก เราเป็นองค์กรที่ไม่แสวงกำไร การนำเสนอ “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) คือเป้าหมายปลายทางของเรา เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป “เอ็กซ์โอ” คือพาหนะที่นำลำสู่เป้าหมาย “เอ็กซ์โอ” รูปร่างน่ารัก เป็นเครื่องที่เกิดจากการปฏิวัติระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา พวกเราภาคภูมิใจ กับมันมาก ๆ แต่เราก็ยินดีที่จะมีใครก็ตามทำมันให้ดีกว่านี้ และราคาถูกลงกว่านี้ จนกว่าทุกอย่างจะเข้ารูป เข้ารอย

ระบบการศึกษาที่ต้องการการพิสูจน์ educational propositionปัญหาเรื้อรังทางการศึกษาขอเด็กในประเทศที่กำลังพัฒนากำลังเข้าสู่ระยะวิกฤติ การพัฒนาในรูปแบบเดิม ๆ และขยายตัวให้มากเพื่อครอบคลุมให้ทั่วถึง ไม่เพียงพอ เหมือนที่มันเคยเป็น ในฐานะพลเมืองโลกปัจจุบันที่ควรจะได้รับประโยชน์จาก เทคโนโลยี และโลกเศรษฐกิจสารสนเทศ (Global information economy) ชาติเหล่านี้ต้องคิดใหม่ ออกจากระบบพาราไดจน์ สั่งการจากเบื้องบนสู่ห้องเรียน (Top-down Classroom Paradigm) แทนที่ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นพลวัตร(Dynamic learning model) ดึงและงัดตัวของเด็กออกมาสู่โลกด้วยตัวเขาเอง ทำให้เขาเป็นทั้งครูและนักเรียนไปพร้อม ๆ กัน (เรียนอะไร ก็ไม่สู้ รู้เป็นครูเขา) เครื่องมือที่จะปลดปล่อยศักยภาพของพลังมหาศาลก็คือ “เอ็กซ์โอ” เอาเครื่องมือที่ ราคาถูกเอามาก ๆ มีพลัง ทนทานสมบุกสมบัน คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างขวาง มาใส่ในมือเด็กเหล่านี้ งานที่เหลือปล่อยให้เด็กเขาทำงานกันเอง


ความคืบหน้า progress

กำเนิดของ โอแอลพีซี เริ่มมานานกว่าสี่ทศวรรษแล้วตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีการสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ มีขนาดน้อง ๆไดโนเสาร์ ไม่มีใครนึกภาพว่าจะมีประโยชน์ต่อเด็ก ๆ ได้อย่างไร นักคิดนักประดิษฐ์รุ่นแรก ๆ เช่น ซีมัวร์ พาเพิร์ท ฝันถึงว่ามันเหมาะกับการเรียนของเด็ก ๆ เป็นแน่ และปัจจุบันก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC : Personal Computer) เป็นเครื่องมือในการเรียนที่ทรงพลังอย่างมาก นับว่าโครงการ One Laptop per Child ได้เดินทางจากทฤษฎีมาเป็นความจริงแล้ว

๒๕๕๐ 2007มกราคม ประเทศราวันดา จากทวีปแอฟริกา ได้ประกาศในวันปีใหม่ว่า ราวันดาจะเข้าร่วม OLPC.

๒๕๔๙ 2006 ธันวาคม ประเทศอูรูกวัยเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี

พฤศจิกายน โครงการรับมอบเครื่องเอกซ์โอชุดแรก บี-1จำนวน 875 เครื่องจากโรงงานประกอบของบริษัทควอนตัมที่เซี่ยงไฮ้ โอแอลพีซี เป็นความจริงแล้ว

ตุลาคม ประเทศลิเบีย ลงนามในสัญญาสั่งแล็ปท็อปจำนวน 1.2 ล้าน ให้เด็กทุกคนในประเทศ ทำให้ โอแอลพีซี ต้องผลิตแล็ปท็อปที่ใช้ภาษาอาหรับ

กันยายน Red Hat และ Pentagram เสนอ user interface รุ่นใหม่สำหรับแล็ปท็อป. บริษัท SES-Astra ประกาศเข้าร่วมโครงการ

สิงหาคม ต้นแบบ จอภาพแอลซีดี สองระบบรุ่นใหม่ เปิดโฉม Wikipedia ร่วมสนับสนุน โดยเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับ โอแอลพีซี

มิถุนายน บอร์ดแล็ปท็อปจำนวน 500 เครื่อง ส่งมอบให้ทีมพัฒนาแต่ละประเทศ Csound สาธิตระบบ mesh network การเชื่อมต่อด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีเวิฟเวอร์

พฤษภาคม Nortel และ eBay เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้สนับสนุน ประกาศการสร้างเซิฟเวอร์สำหรับโรงเรียน ราคา $100.

เมษายน Squid และ FreePlay สาธิตระบบกำลังไฟฟ้าด้วยกำลังมนุษย์ สำหรับเครื่องแล็ปท็อป.

มีนาคม OLPC ตั้งสำนักงานที่ One Cambridge Center Yves Behar นักออกแบบอุตสาหกรรมเข้าร่วมทีม

กุมภาพันธ์ Marvell ร่วมเป็นหุ้นส่วน OLPC ในการผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับเนทเวอร์ค website, www.laptop.org เปิดใช้งาน Mohamed Rostom เป็นผู้บริจาคโดเมนให้

มกราคม Negroponte และ Kemal Dervis, หัวหน้าองค์กรพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Program) ลงนามความเข้าใจร่วมในการประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลก สนับสนุนแผนการนำแล็ปท็อปจำนวน 5 – 10 ล้านเครื่องสำหรับประเทศ หรือ ภูมิภาค ขนาดใหญ่ เมื่อมีการขยายโครงการ ไปทุกประเทศ UNDP มีสำนักงาน 166 สาขาทั่วโลก จะช่วยเป็นหน่วยงานสนับสนุน ช่วยเหลืองานด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่การสื่อสารกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จนถึงการสนับสนุนด้านโลจิสติคถึงตัวโรงเรียน ให้ใช้งานได้

๒๕๔๘ 2005 ธันวาคม นับเป็นก้าวสำคัญเมื่อบริษัท ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ตัดสินใจเป็นผู้ออกแบบและผลิตต้นแบบ (ODM : Original Design Manufacturing) ให้ โอแอลพีซี ทำให้โครงการนี้ได้รับการยอมรับถึงความเป็นไปได้จริง

พฤศจิกายน ในการประชุมระดับโลก Information Society ที่เมืองตูนิส ฝรั่งเศส เลขาธิการสหประชาชาติ Kofi Annan เป็นผู้เสนอโครงการ โอแอลพีซี และกล่าวย้ำถึงความสำคัญ โดยเรียกมันว่าเครื่องจักรสีเขียว มีลักษณะพิเศษ แขนเหมือนดินสอสีเหลืองเพื่อปั่นไฟ ในการทดสอบ Kofi Annan ได้หมุนแกนปั่นไฟจนหักคามือ ทำให้คณะออกแบบต้องกลับมาคิดกันใหม่ “มันไม่ใช่แค่ให้เครื่องแล็ปท็อปแก่เด็ก ๆ ความวิเศษ อยู่ที่ตัวของเด็กเอง อยู่ที่นักวิทยาศาสตร์ - นักคิด ผู้ประดิษฐ์มันขึ้นมา หรือ พลเมืองธรรมดาของโลกในโรงงานผลิตแล็ปท็อป ความริเริ่มที่สำคัญมีความหมายเสมือนแสงสว่างแห่งอนาคต” จากความเห็นของ Kofi Annan อีกสองสัปดาห์ต่อมา Olusegun Obasanjo ประธานาธิบดีแห่งไนจีเรียตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี 100.- $ และเสนอความต้องการแล็ปท็อป หนึ่งล้านเครื่อง

สิงหาคม Negroponte ได้ประชุมร่วมกับอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย พตท.ทักษิณ ชินวัตร ที่กรุงเทพฯ และได้ประกาศว่า ประเทศไทยจะเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี อย่างเป็นทางการ แต่เมื่อ กย. 2549 คณะรัฐบาลชุดนี้ถูกปฏิวัติ ซึ่งทำให้โครงการนี้มีอุปสรรคในประเทศไทย

กรกฎาคม Negroponte รายงานในที่ประชุมกลุ่มผู้สนับสนุนที่สำนักงานใหญ่ของ Google แจ้งว่าปัจจุบัน 50 ประเทศแสดงความจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการ 20 ประเทศใน 50 ประเทศเป็นการตัดสินใจของผู้นำประเทศ และมีผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นอีก คือ BrightStar และ Continuum ซึ่งจะเป็นหุ้นส่วนการออกแบบทางอุตสาหกรรม

มิถุนายน ประธานาธิบดีบราซิล Lula de Silva พบ Negroponte and Papert และตกลงที่จะเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี 100.- $ “ขบวนการนี้รู้ดีว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพการศึกษาให้เด็ก ๆ ในบราซิล” ประธานาธิบดีได้ส่งเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการ กำหนดแผนงาน วันเวลา เพื่อให้โครงการเดินหน้า โดยให้เวลาพิจารณา 29 วัน เขาบอกว่าถ้าสิ่งใดใช้เวลาพิจารณานานกว่า 29 วันแสดงว่าไม่น่าสนใจ

พฤษภาคม มีการประชุมเป็นครั้งแรกของกลุ่มผู้สนับสนุน ที่ห้องทดลองสื่อความหมาย ของเอ็มไอที สมาชิกประกอบด้วย AMD, News Corp., Google and Red Hat (Linux ซึ่งจะเป็นผู้สร้างระบบปฏิบัติการสำหรับแล็ปท็อปตัวนี้)

มกราคม Negroponte ร่างแผนการสร้างแล็ปท็อป ราคา 100 เหรียญสหรัฐ สำหรับเด็กยากจน และส่งให้เพื่อนเก่าของเขา Hector Ruiz ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัท AMD อีก 6 ชั่วโมงต่อมา เพื่อนเขาตอบกลับมาว่า AMD ยินดีเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และอีกไม่กี่สัปดาห์ News Corp. และ Google ก็ติดต่อเข้ามาร่วมงานบุกเบิกครั้งนี้ด้วย โครงการ One Laptop per Child เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในปลายเดือนมกราคม 2548 Negroponte นำเสนอโครงการ หนึ่งแล็ปท็อปให้เด็กหนึ่งคน One Laptop per Child (OLPC) ในที่ประชุมเศรษฐกิจโลก ที่เมืองดาโวส สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ และนักสังคม-วัฒนธรรม ชั้นนำ พร้อมนักข่าว พบปะกันเป็นประจำทุกปี ซึ่งขณะนั้นเขามีเพียงโครงการในมือ แต่ก็ได้จุดประกายไฟให้กลุ่มชนชั้นนำชองโลก หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ ยกย่องว่าเขาเป็น เมล็ดแอพเปิลในยุคของโลกดิจิตอล

๒๕๔๕ 2002 กันยายน Papert ได้แนะนำ ผู้ว่าการรัฐเมน Angus King ว่าการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปในโรงเรียนควรจัดให้นักเรียนหนึ่งเครื่องต่อคน รัฐเมนได้แจกเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปApple I Book ให้นักเรียนชั้นปีที่ 7 (ม. 1 ไทย) จำนวน 42,000 เครื่อง ซึ่งต่อมามีการทบทวนโครงการและขยายการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปไปตามชั้นอื่น ๆมากขึ้น ผู้ว่าการรัฐกล่าวว่า “การมอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปให้นักเรียนทุกคนเป็นการให้เครื่องมือที่มีพลัง เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่”

เมษายน Negroponte ทดลองให้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป Panasonic ToughbooksTM กับเด็ก 20 คนในกัมพูชาเพื่อใช้ในการเรียนที่โรงเรียน ที่บ้าน และ ชุมชน และเพิ่มจำนวนอีก 20 คนในปีต่อมา พบว่าทั้งเด็กและครอบครัวสามารถเรียนรู้การใช้งานอย่างหลากหลาย ในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถเรียนรู้การใช้อินเตอร์เนทด้วยตนเอง ศัพท์ภาษาอังกฤษคำแรกที่เขาได้เรียนคือ “Google”

๒๕๔๑ 1998 Lego MindstormsTM แนะนะผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เด็กหัดสร้างการเรียงอิฐเพื่อการก่อสร้างที่มีการโปรแกรมล่วงหน้าเอาไว้

๒๕๓๘ 1995 Negroponte จากหนังสือ “มาเป็นดิจิตอลกันเถอะ” สร้างภาพอนาคตของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หนังสือนี้อยู่ในอันดับนานาชาติขายดีที่สุด และมีการแปลอีก 40 ภาษา

๒๕๓๑1988 Papert ทำงานร่วมกับ มูลนิธิ Omar Dengo ในประเทศคอสตาริกา อเมริกากลาง พร้อมกับทีมของห้องทดลองสื่อความหมายจากเอ็มไอที ช่วยกันออกแบบโปรแกรมเพื่อระบบ “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) รวมถึงการนำครูชาวคอสตาริกาจำนวน 12 คน มาฝึกที่ เอ็มไอที ระบบโปรแกรมที่ยั่งยืนด้วยตัวเอง เป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยให้ประเทศคอสตาริกาพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจ จากการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว มาเป็นระบบเศรษฐกิจพื้นฐานเทคโนโลยี “ระบบโลโกโปรแกรมกลายเป็นวัฒนธรรมของความคิดของการเรียน” ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิโอมาร์เดงโกกล่าวไว้ ในปีเดียวกัน Lego/Logo ผลิตสินค้าที่หัดให้เด็กใช้คำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาบังคับหุ่นยนต์ ผ่านสายบังคับ

๒๕๒๘ 1985 มีการจัดตั้ง ห้องทดลองสื่อความหมาย แห่งเอ็มไอที (The MIT Media Lab) พันธกิจคือการ ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ บุกเบิกเทคนิคการสื่อความหมาย สำหรับมนุษย์ทั่วไป และเฉพาะบุคคล ที่พอใจจะใช้ ไม่มีข้อจำกัดมากเหมือนสื่อในปัจจุบัน Papert เปิดโรงเรียนสำหรับอนาคต (The School of the Future) นำคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาใช้ในการสอนที่โรงเรียนประถม - มัธยมต้น Hennigan ใน Boston, Massachusetts. โดยใช้โปรแกรมภาษา Logo ซึ่งต่อมาโรงเรียนนี้ก็เป็นสถานที่บุกเบิกโครงการ LEGO/ Logo ของห้องทดลองสื่อความหมาย จาก เอไอที

๒๕๒๕ 1982 ในประเทศฝรั่งเศสโครงการที่สนับสนุนโดยรัฐบาล Papert and Nicholas Negroponte ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล “แอพเพิล II “ เข้าไปใช้การสอนในโรงเรียนชานเมืองดักกา ประเทศเซเนกัล ผลลัพธ์ของโครงการได้พิสูจน์ว่า เด็ก ๆ ในท้องถิ่นทุรกันดาร และยากจน สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย เป็นธรรมชาติ เหมือนเด็กในเมืองที่เจริญอื่น ๆ ผลของโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำโครงการ “โอแอลพีซี” มาใช้ในประเทศ ปากีสถาน ไทย โคลัมเบีย และ ที่อื่น ๆ

๒๕๑๓1980 Papert ออกหนังสือ Mindstorms เล่าเรื่อง เด็ก ๆ คอมพิวเตอร์ และความคิดที่ทรงพลัง เป็นแนวทางที่สำคัญของทฤษฎี “วิธีสร้างการเรียนรู้” (constructionism) เครื่องคอมพิวเตอร์ และเด็ก ๆ

๒๕๑๑1968 Alan Kay เสนอเครื่องแล็ปท็อปต้นแบบ (Dynabook) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพอร์ทเทเบิลที่เสมือนหนังสือที่ตอบโต้ได้

๒๕๑๐ 1967 Wally Feurzeig, Daniel Bobrow, Richard Grant, Cynthia Solomon, and Seymour Papert แนะนำโปรแกรม โลโก (Logo Language Program)โปรแกรมภาษาแรกที่ออกแบบสำหรับเด็ก ๆ

ก้าวสำคัญ What's coming... กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ 2007 คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป “เอ็กซ์โอ” รุ่น บีทู เพื่อทดสอบการใช้งานจะส่งให้เด็ก ๆ ของประเทศแนวหน้า 9 ประเทศ