OLPC Thailand

From OLPC
Revision as of 11:09, 27 February 2007 by Xavi (talk | contribs) (text found in Th PO file was moved here)
Jump to: navigation, search
2007 status: green
green        

This is the starting point for information about OLPC in Thailand.

2006 Coup and Its Effects on Open Source Thailand

During the administration of Thaksin Shinawatra, the government of Thailand was quite enthusiastic about OLPC and related open source ideology. In 2006 a military coup d'etat deposed the government headed by Thaksin and his "Thai Rak Thai" (Thais Love Thais) party. The new executive department is referred to as the "National Security Council" and appears to be committed to reversing many of Thaksin's policies. Support for open/free source software appears to have been curtailed by the new administration, and this cooling toward such projects seems to have also affected enthusiasm for the One Laptop Per Child project. Apparently the administration has shifted its emphasis to building relations with Microsoft.

Please Note: I am living in Bangkok and the reason Thaksin has been kicked out of Thailand is because of corruption. The new government has been attempting to reverse all his policy's in a frenzy to repair the damage he has done to the country with the side effect of scrapping the OLPC.

This article is too biased towards him as some sort of open source saint and should be changed to better reflect what is actually happening in Thailand.

The best thing the OLPC could do now to try an convince the new Minister of Technology why the Open Laptop Project is so important. Can't be that hard with countries like India going completely Microsoft free.

ราชอาณาจักรไทย
Ratcha Anachak Thai

Kingdom of Thailand
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/e/e3/LocationThailand.png
Capital Bangkok (Krung Thep)
Official languages Thai
Area 514,000 km²
Population
 - 2005 estimate 64,185,502
 - 2000 census 60,916,441
 - Density 126/km²
Education
 - Literacy (%) 92.6
 - Compulsory Years
 - Compulsory Age
 - Pop. in School Age
 - Pop. in School
GDP (PPP) 2005 est. USD 550 billion
 - Per capita USD 8,600
GDP (nominal) 2005 est. USD 183 billion
 - Per capita
HDI  (2004) 0.784 (medium)
Gini Index  (2002) 51.1
Time zone (UTC+7)
Internet TLD .th
Calling code +66
More statistics...

Localization experience

The program Application Program: Test of ability with arithmetic may or may not become produced, yet if you wish to try adding some strings for localizing into Thai you are welcome to do so.

Content extracted from Th PO

พันธกิจ mission เด็ก ๆ ในประเทศกำลังพัฒนาเกือบสองพันล้านคนได้รับการศึกษาไม่เพียงพอ หรือ บางคนไม่ได้รับเลย หนึ่งในสามของเด็กเหล่านี้ไม่จบชั้นประถมปีที่ 5 ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤติและเรื้อรังของครอบครัวและสังคมด้อยโอกาสทั่วโลก เด็ก ๆ จากชุมชนที่ยากจนเช่นพ่อ-แม่ของเขานึกภาพไม่ออกว่าแสงสว่างของการศึกษาจะมีผลอย่างไรต่อชีวิตของเขา ขณะเดียวกันรัฐบาลของพวกเขากำลังฝ่าฟัน โลกเศรษฐกิจสารสนเทศ (Global information economy) ที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด มีการเพิ่มขึ้นของชนชั้นด้อยโอกาสที่ช่วยตัวเองไม่ได้ และยังขาดโอกาสในการพัฒนาตัวเองเพราะไม่มีเครื่องมือการศึกษาที่จะช่วยเหลือพวกเขายกระดับความเป็นอยู่ของชีวิต

มันถึงเวลาที่จะคิดแก้ไขปัญหานี้ It is time to rethink this equation. ยื่นทรัพยากรให้เด็กในประเทศยากจนที่มีงบประมาณการศึกษาต่อปีต่อคน น้อยกว่า 20.- เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ 7,500.- เหรียญสหรัฐในสหรัฐอเมริกาเอง หรือมากกว่า สองเท่า สี่เท่า ของงบประมาณที่ตั้งไว้ จากรูปแบบการศึกษาแบบเดิม จากองค์กรเอกชน แต่ผลที่ได้ก็ไม่คุ้มกับค่าของเงินที่จ่ายไปสักเท่าไร จากการวิเคราะห์ข้อมูลของการลงทุนด้านการศึกษาพบว่า รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการ ก่อสร้างขยายโรงเรียน จ้างครูเพิ่ม ซื้อหนังสือ หรืออุปกรณ์การศึกษาอื่น ๆ ขณะเดียวกันเสียงเรียกร้องให้ช่วยพัฒนาระบบการศึกษาของเด็กในประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร

ผลที่ควรจะเป็นกลับกลายเป็นการก้าวถอยหลังจากการอยู่นิ่งเฉย It is instead a reliable recipe for going backward by standing still.ไม่ว่าชาติใดก็ตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าสูงสุด และน่าทำนุถนอมมากที่สุดคือ “ เด็ก ๆ “ โลกที่ต้องการพัฒนาให้เห็นอนาคตอันรุ่งเรืองต้องเน้นการพัฒนาเด็กเป็นอันดับแรก พยายามนำสิ่งที่อยู่ภายในตัวของเด็กให้เขาเรียนรู้ด้วยตัวเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนฝูงและสังคมของเขา คำตอบของทีมงานเราก็คือต้องใช้ “คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป” เราเรียกว่ารุ่น “เอ็กซ์โอ” มันเป็นเครื่องมือของเด็กที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ เอ็กซ์โอ เกิดเป็นรูปเป็นร่างจากทฤษฎี “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) ที่พัฒนาโดย ซีมัวร์ พาเพิร์ท (Seymour Papert )ในปี พ.ศ. 2503 และต่อมาพัฒนาในรายละเอียดโดย อลันด์ เคย์ (Alan Kay) เพิ่มเติม แตกหน่อ โดย นิโคลัส เนโกรพอนเต้ (Nicholas Negroponte) จากเนื้อหาในหนังสือ “มาเป็นดิจิตอลกันเถิด” (Being Digital) เมื่อนำมาวิจัยภาคสนามในพื้นที่ทุรกันดาร และยากจนที่สุดของโลกได้พิสูจน์ความถูกต้องของทฤษฎี เครื่องมือ และระบบ ของ “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) พาเพิร์ท ได้เน้น “การเรียนรู้จากการเรียน / เรียนแล้วเรียนอีก” (Learning learning) คือพื้นฐานของประสบการณ์การศึกษา เครื่องคอมพิวเตอร์นับเป็นแม่แบบของ“การเรียนรู้จากการเรียน / เรียนแล้วเรียนอีก” (Learning learning) ที่ไม่เหมือนใคร มันช่วยให้เด็ก คิด และได้คิดสิ่งที่เขากำลังคิด ซึ่งเครื่องมืออื่น ๆ ไม่สามารถทำได้ การใช้ “เอ็กซ์โอ” เป็นหน้าต่าง-ประตูสู่โลกภายนอก และเป็นอุปกรณ์สำรวจและเผชิญโลกกว้างที่ได้รับการโปรแกรมไว้พร้อมมูล คอมพิวเตอร์และระบบที่วางไว้จะช่วยให้เด็กในชาติกำลังพัฒนาเปิดสู่โลกแห่งการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ ได้ใช้ความสร้างสรรค์ของเขา และศักยภาพในการแก้ปัญหา ควบคู่กันไป “โอ แอล พีซี” ไม่ใช่หัวใจของโปรแกรมเทคโนโลยี และ “เอ็กซ์โอ” ก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ในความหมายของโลกทุนนิยมที่ทำเพื่อการค้ากำไรเป็นหลัก เราเป็นองค์กรที่ไม่แสวงกำไร การนำเสนอ “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) คือเป้าหมายปลายทางของเรา เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป “เอ็กซ์โอ” คือพาหนะที่นำลำสู่เป้าหมาย “เอ็กซ์โอ” รูปร่างน่ารัก เป็นเครื่องที่เกิดจากการปฏิวัติระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา พวกเราภาคภูมิใจ กับมันมาก ๆ แต่เราก็ยินดีที่จะมีใครก็ตามทำมันให้ดีกว่านี้ และราคาถูกลงกว่านี้ จนกว่าทุกอย่างจะเข้ารูป เข้ารอย

ระบบการศึกษาที่ต้องการการพิสูจน์ educational propositionปัญหาเรื้อรังทางการศึกษาขอเด็กในประเทศที่กำลังพัฒนากำลังเข้าสู่ระยะวิกฤติ การพัฒนาในรูปแบบเดิม ๆ และขยายตัวให้มากเพื่อครอบคลุมให้ทั่วถึง ไม่เพียงพอ เหมือนที่มันเคยเป็น ในฐานะพลเมืองโลกปัจจุบันที่ควรจะได้รับประโยชน์จาก เทคโนโลยี และโลกเศรษฐกิจสารสนเทศ (Global information economy) ชาติเหล่านี้ต้องคิดใหม่ ออกจากระบบพาราไดจน์ สั่งการจากเบื้องบนสู่ห้องเรียน (Top-down Classroom Paradigm) แทนที่ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นพลวัตร(Dynamic learning model) ดึงและงัดตัวของเด็กออกมาสู่โลกด้วยตัวเขาเอง ทำให้เขาเป็นทั้งครูและนักเรียนไปพร้อม ๆ กัน (เรียนอะไร ก็ไม่สู้ รู้เป็นครูเขา) เครื่องมือที่จะปลดปล่อยศักยภาพของพลังมหาศาลก็คือ “เอ็กซ์โอ” เอาเครื่องมือที่ ราคาถูกเอามาก ๆ มีพลัง ทนทานสมบุกสมบัน คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่มีขอบเขตการใช้งานกว้างขวาง มาใส่ในมือเด็กเหล่านี้ งานที่เหลือปล่อยให้เด็กเขาทำงานกันเอง

ความคืบหน้า progress

กำเนิดของ โอแอลพีซี เริ่มมานานกว่าสี่ทศวรรษแล้วตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีการสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้นมา เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก ๆ มีขนาดน้อง ๆไดโนเสาร์ ไม่มีใครนึกภาพว่าจะมีประโยชน์ต่อเด็ก ๆ ได้อย่างไร นักคิดนักประดิษฐ์รุ่นแรก ๆ เช่น ซีมัวร์ พาเพิร์ท ฝันถึงว่ามันเหมาะกับการเรียนของเด็ก ๆ เป็นแน่ และปัจจุบันก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC : Personal Computer) เป็นเครื่องมือในการเรียนที่ทรงพลังอย่างมาก นับว่าโครงการ One Laptop per Child ได้เดินทางจากทฤษฎีมาเป็นความจริงแล้ว

๒๕๕๐ 2007มกราคม ประเทศราวันดา จากทวีปแอฟริกา ได้ประกาศในวันปีใหม่ว่า ราวันดาจะเข้าร่วม OLPC.

๒๕๔๙ 2006 ธันวาคม ประเทศอูรูกวัยเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี

พฤศจิกายน โครงการรับมอบเครื่องเอกซ์โอชุดแรก บี-1จำนวน 875 เครื่องจากโรงงานประกอบของบริษัทควอนตัมที่เซี่ยงไฮ้ โอแอลพีซี เป็นความจริงแล้ว

ตุลาคม ประเทศลิเบีย ลงนามในสัญญาสั่งแล็ปท็อปจำนวน 1.2 ล้าน ให้เด็กทุกคนในประเทศ ทำให้ โอแอลพีซี ต้องผลิตแล็ปท็อปที่ใช้ภาษาอาหรับ

กันยายน Red Hat และ Pentagram เสนอ user interface รุ่นใหม่สำหรับแล็ปท็อป. บริษัท SES-Astra ประกาศเข้าร่วมโครงการ

สิงหาคม ต้นแบบ จอภาพแอลซีดี สองระบบรุ่นใหม่ เปิดโฉม Wikipedia ร่วมสนับสนุน โดยเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับ โอแอลพีซี

มิถุนายน บอร์ดแล็ปท็อปจำนวน 500 เครื่อง ส่งมอบให้ทีมพัฒนาแต่ละประเทศ Csound สาธิตระบบ mesh network การเชื่อมต่อด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีเวิฟเวอร์

พฤษภาคม Nortel และ eBay เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้สนับสนุน ประกาศการสร้างเซิฟเวอร์สำหรับโรงเรียน ราคา $100.

เมษายน Squid และ FreePlay สาธิตระบบกำลังไฟฟ้าด้วยกำลังมนุษย์ สำหรับเครื่องแล็ปท็อป.

มีนาคม OLPC ตั้งสำนักงานที่ One Cambridge Center Yves Behar นักออกแบบอุตสาหกรรมเข้าร่วมทีม

กุมภาพันธ์ Marvell ร่วมเป็นหุ้นส่วน OLPC ในการผลิตฮาร์ดแวร์สำหรับเนทเวอร์ค website, www.laptop.org เปิดใช้งาน Mohamed Rostom เป็นผู้บริจาคโดเมนให้

มกราคม Negroponte และ Kemal Dervis, หัวหน้าองค์กรพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Program) ลงนามความเข้าใจร่วมในการประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลก สนับสนุนแผนการนำแล็ปท็อปจำนวน 5 – 10 ล้านเครื่องสำหรับประเทศ หรือ ภูมิภาค ขนาดใหญ่ เมื่อมีการขยายโครงการ ไปทุกประเทศ UNDP มีสำนักงาน 166 สาขาทั่วโลก จะช่วยเป็นหน่วยงานสนับสนุน ช่วยเหลืองานด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่การสื่อสารกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จนถึงการสนับสนุนด้านโลจิสติคถึงตัวโรงเรียน ให้ใช้งานได้

๒๕๔๘ 2005 ธันวาคม นับเป็นก้าวสำคัญเมื่อบริษัท ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ตัดสินใจเป็นผู้ออกแบบและผลิตต้นแบบ (ODM : Original Design Manufacturing) ให้ โอแอลพีซี ทำให้โครงการนี้ได้รับการยอมรับถึงความเป็นไปได้จริง

พฤศจิกายน ในการประชุมระดับโลก Information Society ที่เมืองตูนิส ฝรั่งเศส เลขาธิการสหประชาชาติ Kofi Annan เป็นผู้เสนอโครงการ โอแอลพีซี และกล่าวย้ำถึงความสำคัญ โดยเรียกมันว่าเครื่องจักรสีเขียว มีลักษณะพิเศษ แขนเหมือนดินสอสีเหลืองเพื่อปั่นไฟ ในการทดสอบ Kofi Annan ได้หมุนแกนปั่นไฟจนหักคามือ ทำให้คณะออกแบบต้องกลับมาคิดกันใหม่ “มันไม่ใช่แค่ให้เครื่องแล็ปท็อปแก่เด็ก ๆ ความวิเศษ อยู่ที่ตัวของเด็กเอง อยู่ที่นักวิทยาศาสตร์ - นักคิด ผู้ประดิษฐ์มันขึ้นมา หรือ พลเมืองธรรมดาของโลกในโรงงานผลิตแล็ปท็อป ความริเริ่มที่สำคัญมีความหมายเสมือนแสงสว่างแห่งอนาคต” จากความเห็นของ Kofi Annan อีกสองสัปดาห์ต่อมา Olusegun Obasanjo ประธานาธิบดีแห่งไนจีเรียตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี 100.- $ และเสนอความต้องการแล็ปท็อป หนึ่งล้านเครื่อง

สิงหาคม Negroponte ได้ประชุมร่วมกับอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย พตท.ทักษิณ ชินวัตร ที่กรุงเทพฯ และได้ประกาศว่า ประเทศไทยจะเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี อย่างเป็นทางการ แต่เมื่อ กย. 2549 คณะรัฐบาลชุดนี้ถูกปฏิวัติ ซึ่งทำให้โครงการนี้มีอุปสรรคในประเทศไทย

กรกฎาคม Negroponte รายงานในที่ประชุมกลุ่มผู้สนับสนุนที่สำนักงานใหญ่ของ Google แจ้งว่าปัจจุบัน 50 ประเทศแสดงความจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการ 20 ประเทศใน 50 ประเทศเป็นการตัดสินใจของผู้นำประเทศ และมีผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นอีก คือ BrightStar และ Continuum ซึ่งจะเป็นหุ้นส่วนการออกแบบทางอุตสาหกรรม

มิถุนายน ประธานาธิบดีบราซิล Lula de Silva พบ Negroponte and Papert และตกลงที่จะเข้าร่วมโครงการ โอแอลพีซี 100.- $ “ขบวนการนี้รู้ดีว่าเป็นการเพิ่มคุณภาพการศึกษาให้เด็ก ๆ ในบราซิล” ประธานาธิบดีได้ส่งเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการ กำหนดแผนงาน วันเวลา เพื่อให้โครงการเดินหน้า โดยให้เวลาพิจารณา 29 วัน เขาบอกว่าถ้าสิ่งใดใช้เวลาพิจารณานานกว่า 29 วันแสดงว่าไม่น่าสนใจ

พฤษภาคม มีการประชุมเป็นครั้งแรกของกลุ่มผู้สนับสนุน ที่ห้องทดลองสื่อความหมาย ของเอ็มไอที สมาชิกประกอบด้วย AMD, News Corp., Google and Red Hat (Linux ซึ่งจะเป็นผู้สร้างระบบปฏิบัติการสำหรับแล็ปท็อปตัวนี้)

มกราคม Negroponte ร่างแผนการสร้างแล็ปท็อป ราคา 100 เหรียญสหรัฐ สำหรับเด็กยากจน และส่งให้เพื่อนเก่าของเขา Hector Ruiz ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัท AMD อีก 6 ชั่วโมงต่อมา เพื่อนเขาตอบกลับมาว่า AMD ยินดีเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และอีกไม่กี่สัปดาห์ News Corp. และ Google ก็ติดต่อเข้ามาร่วมงานบุกเบิกครั้งนี้ด้วย โครงการ One Laptop per Child เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ในปลายเดือนมกราคม 2548 Negroponte นำเสนอโครงการ หนึ่งแล็ปท็อปให้เด็กหนึ่งคน One Laptop per Child (OLPC) ในที่ประชุมเศรษฐกิจโลก ที่เมืองดาโวส สวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งประกอบด้วยนักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ และนักสังคม-วัฒนธรรม ชั้นนำ พร้อมนักข่าว พบปะกันเป็นประจำทุกปี ซึ่งขณะนั้นเขามีเพียงโครงการในมือ แต่ก็ได้จุดประกายไฟให้กลุ่มชนชั้นนำชองโลก หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ ยกย่องว่าเขาเป็น เมล็ดแอพเปิลในยุคของโลกดิจิตอล

๒๕๔๕ 2002 กันยายน Papert ได้แนะนำ ผู้ว่าการรัฐเมน Angus King ว่าการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปในโรงเรียนควรจัดให้นักเรียนหนึ่งเครื่องต่อคน รัฐเมนได้แจกเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปApple I Book ให้นักเรียนชั้นปีที่ 7 (ม. 1 ไทย) จำนวน 42,000 เครื่อง ซึ่งต่อมามีการทบทวนโครงการและขยายการใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปไปตามชั้นอื่น ๆมากขึ้น ผู้ว่าการรัฐกล่าวว่า “การมอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปให้นักเรียนทุกคนเป็นการให้เครื่องมือที่มีพลัง เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่”

เมษายน Negroponte ทดลองให้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป Panasonic ToughbooksTM กับเด็ก 20 คนในกัมพูชาเพื่อใช้ในการเรียนที่โรงเรียน ที่บ้าน และ ชุมชน และเพิ่มจำนวนอีก 20 คนในปีต่อมา พบว่าทั้งเด็กและครอบครัวสามารถเรียนรู้การใช้งานอย่างหลากหลาย ในเวลาอันรวดเร็ว และสามารถเรียนรู้การใช้อินเตอร์เนทด้วยตนเอง ศัพท์ภาษาอังกฤษคำแรกที่เขาได้เรียนคือ “Google”

๒๕๔๑ 1998 Lego MindstormsTM แนะนะผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เด็กหัดสร้างการเรียงอิฐเพื่อการก่อสร้างที่มีการโปรแกรมล่วงหน้าเอาไว้

๒๕๓๘ 1995 Negroponte จากหนังสือ “มาเป็นดิจิตอลกันเถอะ” สร้างภาพอนาคตของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หนังสือนี้อยู่ในอันดับนานาชาติขายดีที่สุด และมีการแปลอีก 40 ภาษา

๒๕๓๑1988 Papert ทำงานร่วมกับ มูลนิธิ Omar Dengo ในประเทศคอสตาริกา อเมริกากลาง พร้อมกับทีมของห้องทดลองสื่อความหมายจากเอ็มไอที ช่วยกันออกแบบโปรแกรมเพื่อระบบ “วิธีสร้างการเรียนรู้” (Constructionism) รวมถึงการนำครูชาวคอสตาริกาจำนวน 12 คน มาฝึกที่ เอ็มไอที ระบบโปรแกรมที่ยั่งยืนด้วยตัวเอง เป็นเครื่องมือที่สำคัญช่วยให้ประเทศคอสตาริกาพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจ จากการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว มาเป็นระบบเศรษฐกิจพื้นฐานเทคโนโลยี “ระบบโลโกโปรแกรมกลายเป็นวัฒนธรรมของความคิดของการเรียน” ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิโอมาร์เดงโกกล่าวไว้ ในปีเดียวกัน Lego/Logo ผลิตสินค้าที่หัดให้เด็กใช้คำสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาบังคับหุ่นยนต์ ผ่านสายบังคับ

๒๕๒๘ 1985 มีการจัดตั้ง ห้องทดลองสื่อความหมาย แห่งเอ็มไอที (The MIT Media Lab) พันธกิจคือการ ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ บุกเบิกเทคนิคการสื่อความหมาย สำหรับมนุษย์ทั่วไป และเฉพาะบุคคล ที่พอใจจะใช้ ไม่มีข้อจำกัดมากเหมือนสื่อในปัจจุบัน Papert เปิดโรงเรียนสำหรับอนาคต (The School of the Future) นำคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาใช้ในการสอนที่โรงเรียนประถม - มัธยมต้น Hennigan ใน Boston, Massachusetts. โดยใช้โปรแกรมภาษา Logo ซึ่งต่อมาโรงเรียนนี้ก็เป็นสถานที่บุกเบิกโครงการ LEGO/ Logo ของห้องทดลองสื่อความหมาย จาก เอไอที

๒๕๒๕ 1982 ในประเทศฝรั่งเศสโครงการที่สนับสนุนโดยรัฐบาล Papert and Nicholas Negroponte ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล “แอพเพิล II “ เข้าไปใช้การสอนในโรงเรียนชานเมืองดักกา ประเทศเซเนกัล ผลลัพธ์ของโครงการได้พิสูจน์ว่า เด็ก ๆ ในท้องถิ่นทุรกันดาร และยากจน สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย เป็นธรรมชาติ เหมือนเด็กในเมืองที่เจริญอื่น ๆ ผลของโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำโครงการ “โอแอลพีซี” มาใช้ในประเทศ ปากีสถาน ไทย โคลัมเบีย และ ที่อื่น ๆ

๒๕๑๓1980 Papert ออกหนังสือ Mindstorms เล่าเรื่อง เด็ก ๆ คอมพิวเตอร์ และความคิดที่ทรงพลัง เป็นแนวทางที่สำคัญของทฤษฎี “วิธีสร้างการเรียนรู้” (constructionism) เครื่องคอมพิวเตอร์ และเด็ก ๆ

๒๕๑๑1968 Alan Kay เสนอเครื่องแล็ปท็อปต้นแบบ (Dynabook) เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบพอร์ทเทเบิลที่เสมือนหนังสือที่ตอบโต้ได้

๒๕๑๐ 1967 Wally Feurzeig, Daniel Bobrow, Richard Grant, Cynthia Solomon, and Seymour Papert แนะนำโปรแกรม โลโก (Logo Language Program)โปรแกรมภาษาแรกที่ออกแบบสำหรับเด็ก ๆ

ก้าวสำคัญ What's coming... กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ 2007 คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป “เอ็กซ์โอ” รุ่น บีทู เพื่อทดสอบการใช้งานจะส่งให้เด็ก ๆ ของประเทศแนวหน้า 9 ประเทศ